You are on page 1of 6

‘ศาสนาประจําชาติไทย’

พระธรรมโกศาจารย (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

ระยะนี้ ชาวพุ ท ธออกมาเรี ย กร อ งให บั ญ ญั ติ พ ระพุ ท ธศาสนาเป น ศาสนาประจํ า ชาติ ไ ว ใ น


รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยฉบับลาสุด มีหลายคนตั้งข อสงสัยวาการที่รางรัฐธรรมนู ญ
บัญญัติไวในมาตรา 9 วา "พระมหากษัตริยทรงเปนพุทธมามกะและทรงเปนอัครศาสนูปถัมภก"
ยังไมเปนการเพียงพอที่จะรับประกันวาพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติละหรือ

ชาวพุ ทธผู ออกมาเรียกร องมีความเห็นวา บทบัญญัติในมาตราดัง กลาวเพี ย งพอที่จ ะประกัน ว า


พระพุทธศาสนาเปนศาสนาแหงชาติไทยก็จริง แตยังไมใชการรับรองวาพระพุทธศาสนาเปนศาสนา
ประจําชาติไทย

อะไรคือความแตกตางระหวางคําวา ศาสนาแหงชาติ (National Religion) กับคําวา ศาสนาประจํา


ชาติ (State Religion)

คําวา ศาสนาแหงชาติ หมายถึง ศาสนา ที่ประชาชนสวนใหญของประเทศนั้นๆ นับถือ ซึ่งรวมทั้ง


ประมุขหรือพระประมุขของประเทศนั้นก็นับถือดวย

คําวา ศาสนาประจําชาติ หมายถึง ศาสนาที่ทางราชการในประเทศนั้นๆ รับรองใหความสําคัญสูงสุด


ดวยการบัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ดังเชน รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถาน บัญญัติใหศาสนาอิสลาม
เปนศาสนาประจําชาติ รัฐธรรมนูญของพมา บัญญัติใหพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ

เมื่อวาโดยพฤตินัย พระพุทธศาสนาเปนศาสนาแหงชาติไทย เพราะมีคนไทยสวนใหญนับถือมา


ตั้งแตเริ่มสถาปนารัฐไทยในสมัยกรุงสุโขทัย และพระมหากษัตริยไทยทุกพระองคก็ทรงเปนพุทธ

ศาสนาประจําชาติไทย พระธรรมโกศาจารย (ประยูร ธมฺมยจิตฺโต) 1


เอกสารเชิงวิชาการ องคกรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอรแลนดเหนือ
มามกะ แตเมื่อวาโดยนิตินัย พระพุทธศาสนายังไมเปนศาสนาประจําชาติไทย เพราะยังไมมีการ
บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญตั้งแตมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

ในสมัย สมบู ร ณาสิท ธิ ร าชย การที่พ ระมหากษั ต ริ ยท รงเป น พุ ท ธมามกะ ถื อ ว า เป น การรั บ รอง
พระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติไทยอยูในตัว ตามหลักการแตโบราณที่วา "ศาสนาประจํา
ชาติเปนไปตามศาสนาของผูปกครอง (whose rule, his religion)"

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป นต นมา ความเปนศาสนาประจําชาติของ


พระพุทธศาสนาควรมีการบัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือวาเปนกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งนี้
ก็ เ พื่ อ ให ค วามเป น ศาสนาประจํ า ชาติ นี้ ไ ด รั บ การสื บ ทอดอย า งเป น ทางการมาจากสมั ย
สมบูรณาญาสิทธิราชยนั่นเอง

สถาบั น ชาติ ไ ด รั บ การกล า วถึ ง ไว ใ นมาตรา 1 แห ง ร า งรั ฐ ธรรมนู ญ ว า "ประเทศไทยเป น
ราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบงแยกมิได" และสถาบันพระมหากษัตริยไดรับการบัญญัติไวใน
มาตรา 2 วา "ประเทศไทยมี ก ารปกครองระบอบประชาธิป ไตยอั น มี พ ระมหากษัตริย ทรงเป น
ประมุข"

ชาวพุ ท ธเรี ย กร อ งให เ พิ่ ม อี ก 1 มาตราที่ บั ญ ญั ติ เ กี่ ย วกั บ สถาบั น พระพุ ท ธศาสนาไว ใ นร า ง
รัฐธรรมนูญวา "ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ" หรือจะเพิ่มขอความเขาใน
มาตรา 2 วา "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข
และมีพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ" ดังนี้ก็ได

ถามีการบัญญัติเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญเชนวานี้ พระพุทธศาสนาซึ่งเคยเปนศาสนาประจําชาติไทย
ในสมัยสมบูรณาสิทธิราชยก็ชื่อวาไดรับการรับรองอยางเปนทางการใหเปนศาสนาประจําชาติไทย
ตอไป และจะไดไมตองมีใครมาโตแยงวาพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติหรือไม

เมื่อมีการปรับปรุ ง หลั ก สู ต รพระพุ ทธศาสนาในโรงเรีย นแลว นั ก วิชาการชาวพุทธเขี ย นลงใน


หนังสือแบบเรียนวาพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ นักวิชาการตางศาสนาไดสงหนังสือ
ทักทวงไปที่รัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการใหถอดขอความที่วานั้นออกจากแบบเรียน เขาให
เหตุผลวาเพราะรัฐธรรมนูญไมไดบัญญัติวาพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ

ศาสนาประจําชาติไทย พระธรรมโกศาจารย (ประยูร ธมฺมยจิตฺโต) 2


เอกสารเชิงวิชาการ องคกรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอรแลนดเหนือ
เรื่องไดยุติลงในที่สุดเมื่อนักวิชาการชาวพุทธทานนั้นอางพระราชนิพนธหรือพระราชดํารัสของ
พระมหากษัตริยไทยที่ทรงประกาศไววา

"ขาพเจายอมรูสึกวา เปนหนาที่ของขาพเจาที่จะตองทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเปนสิ่งคูกับพระ


ราชอาณาจั กร ใหดําเนินไปในทางวัฒนาถาวรพรอมกัน ทั้งสองฝาย" (พระบาทสมเด็จพระปย
มหาราช รัชกาลที่ 5)

"ถาขาพเจาจะขอแกทานทั้งหลายวา พุทธศาสนาเปนของไทย เรามาชวนกันนับถือพระพุทธศาสนา


เถิด... เพราะเหตุฉะนั้น เปนความจําเปนที่เราทั้งหลาย ผูเปนไทยจะตองมั่นอยูในศาสนาพระพุทธ
ซึ่งเปนศาสนาสําหรับชาติเรา..." (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 6)

"เมื่อขาพเจามีโอกาสไปเยือนสํานักวาติกัน เมื่อปคริสตศักราช 1860 สมเด็จพระสันตะปาปาจอหน


ปอล ที่ 2 ตรัสถามถึงคนไทยนับถือศาสนามากนอยเพียงใด ขาพเจาทูลตอบวา คนไทยเปนศาสนิก
ชนที่ดีทั่วกัน สวนใหญนับถือพระพุทธศาสนา อันเปนศาสนาประจําชาติ" (พระบาทสมเด็จพระ
เจาอยูหัว รัชกาลปจจุบัน)

ดังนั้น การที่ชาวพุทธเรียกรองใหมีการบัญญัติวา พระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติไวใน


รัฐธรรมนูญก็เพื่อใหมีการับรองสถานะของพระพุทธศาสนาที่เปนศาสนาแหงชาติอยูแลวโดยพฤติ
นัยนั้นใหเปนศาสนาประจําชาติโดยนิตินัยอยางชนิดที่ไมอาจมีใครโตแยงได ทั้งในปจจุบันและ
อนาคต

ในโลกปจจุบัน มีประเทศที่ประกาศอยางเปนทางการไวในรัฐธรรมนูญวา มีศาสนาคริสตเปน


ศาสนาประจําชาติ จํานวนกวา 15 ประเทศ ตัวอยางเชน รัฐธรรมนูญฃองประเทศเดนมารกบัญญัติ
วา "ศาสนาคริสตลูเธอแรนเปนศาสนาประจําชาติเดนมารกที่จะตองไดรับการอุปถัมภจากรัฐ"
รัฐธรรมนูญของประเทศกรีซบัญญัติวา "ศาสนาสําคัญในประเทศกรีซคือศาสนาคริสตออรธอด
อกซตะวันออก... พระคัมภีรไบเบิ้ลอันศักดิ์สิทธิ์ตองไดรับการอนุรักษไวโดยไมมีการดัดแปลง"

ประเทศที่ประกาศอยางเปนทางการไวในรัฐธรรมนูญวา มีศาสนาอิสลามเปนศาสนาประจําชาติ มี
จํานวน 30 ประเทศ ตัวอยางเชน รัฐธรรมนูญฃองประเทศมาเลเซีย บัญญัติวา "อิสลามเปนศาสนา
แห ง สหพั น ธรั ฐ มาเลเซี ย แต ก็ อ าจปฏิ บั ติ ศ าสนาอื่ น ได ด ว ยสั น ติ แ ละสามั ค คี ใ นทุ ก ส ว นของ
สหพัน ธรัฐ " รัฐธรรมนูญของประเทศอั ฟกานิสถานบัญญัติวา "ศาสนาอิสลามที่ศั ก ดิ์สิทธิ์ เ ปน

ศาสนาประจําชาติไทย พระธรรมโกศาจารย (ประยูร ธมฺมยจิตฺโต) 3


เอกสารเชิงวิชาการ องคกรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอรแลนดเหนือ
ศาสนาแหงอัฟกานิสถาน ในสาธารณรัฐอัฟกานิสถานจะไมมีกฎหมายใดขัดแยงกับหลักการของ
ศาสนาอิสลามที่ศักดิ์สิทธิ์"

ประเทศที่ประกาศอยางเปนทางการไวในรัฐธรรมนูญวา มีพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติมี
เพียง 4 ประเทศเทานั้น คือ ศรีลังกา พมา กัมพูชา ภูฏาน ตัวอยางเชน รัฐธรรมนูญของประเทศศรี
ลังกาบัญญัติวา "สาธารณรัฐศรีลังกายกพระพุทธศาสนาไวในสถานะสําคัญสูงสุดและถือเปนหนาที่
ของรัฐที่จะตองอุปถัมภบํารุงพระพุทธศาสนาและในขณะเดียวกันก็ประกันสิทธิของทุกศาสนา
ตามที่บัญญัติไวในมาตรา 10 และ 14" รัฐธรรมนูญของประเทศภูฎาน บัญญัติวา "พระพุทธศาสนา
เปนมรดกทางจิตใจของภูฎาน ซึ่งสงเสริมหลักการและคานิยมแหงสันติ อหิงสา กรุณาและขันติ"

แตประเทศไทยที่มีพระพุทธศาสนาเปนรากฐานของวัฒนธรรมไทย มีสํานักงานใหญขององคการ
พุทธศานิกสัมพันธแหงโลกตั้งอยูเปนการถาวรมาตั้งแต พ.ศ. 2512 และมีพุทธมณฑลที่ชาวพุทธทั่ว
โลกยอมรั บ ว า เปน ศู น ย ก ลางพระพุ ท ธศาสนาของโลกตั้ ง แต พ.ศ. 2548 ยั ง ไม มีก ารบั ญ ญั ติ ใ น
รัฐธรรมนูญใหพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ

หลายคนแสดงความหวงใยวา การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติใหพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ
จะเปนเหตุใหชาวไทยตางศาสนาถูกกดขี่กีดกันทางศาสนา หรืออาจเปนชนวนยั่วยุใหความขัดแยง
ในสามจังหวัดชายแดนภาคใตลุกโชนยิ่งขึ้น

ในประเด็นที่เกี่ยวกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใตนั้น ทางคณะมนตรีความมั่นคง
แหงชาติ (คมช.) ยืนยันวาไมไดเกิดจากความขัดแยงของผูที่นับถือพระพุทธศาสนาและศาสนา
อิสลาม แตเป นการสรางความวุนวายและกอการรายของกลุมที่ไมมีศาสนาที่ตองการแบงแยก
ดินแดน ทางคมช.จึงมีมติเปนเอกฉันทวา ไมขัดของ หากจะบัญญัติพระพุทธศาสนาเปนศาสนา
ประจําชาติไวในรัฐธรรมนูญ

ประเด็นที่วาชาวไทยที่นับถือศาสนาอื่นอาจถูกกีดกันหรือกดขี่ทางศาสนา ถารัฐธรรมนูญบัญญัติให
พระพุ ท ธศาสนาเป น ศาสนาประจํ า ชาติ นั้ น เกิ ด จากความหวาดระแวงว า การบั ญ ญั ติ ใ ห
พระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติไวในรัฐธรรมนูญจะนําไปสูการบังคับใหคนไทยตองนับถือ
แตพระพุทธศาสนาและจะมีการกีดกันหรือกดขี่ศาสนาอื่นไปพรอมกัน

ในเดือนมีนาคม 2549 นายอับดุล ราหมัน ชาวอัฟกานิสถานถูกจับขอหาเลิกนับถือศาสนาอิสลาม


และหัน ไปนั บถื อศาสนาคริ สต ถ ามีการพิสูจ นไ ดวาเปลี่ย นศาสนาจริ ง เขาจะถูกศาลพิ พ ากษา
ศาสนาประจําชาติไทย พระธรรมโกศาจารย (ประยูร ธมฺมยจิตฺโต) 4
เอกสารเชิงวิชาการ องคกรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอรแลนดเหนือ
ประหารชีวิต คดีนี้โดงดังไปทั่วโลกเมื่อผูนําประเทศมหาอํานาจไดกดดันรัฐบาลอัฟกานิสถานเพื่อ
ไมใหประหารชีวิตชายคนนี้

เมื่อพระสงฆในพระพุทธศาสนาเดินทางเขาไปในประเทศมาเลเซียซึ่งมีศาสนาอิสลามเปนศาสนา
ประจําชาติ ก็ถูกหามมิใหเผยแผพระพุทธศาสนาแกภูมิบุตรคือชาวมาเลเซียมุสลิมมิฉะนั้นจะมี
ความผิดตามกฎหมาย

ในประเทศพมาซึ่งมีพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติไดมีนโยบายกีดกันไมใหคนที่นับถือ
ศาสนาอื่นซึ่งรับราชการทหารมียศสูงกวาพันเอก

พระพุทธศาสนาในประเทศไทยแตโบราณมาเปนศาสนาที่ประนีประนอมกับศาสนาอื่นมาโดย
ตลอด โดยไมเคยมีการบังคับใหคนไทยตองนับถือแตพระพุทธศาสนา และไมเคยมีการกีดกัน
ศาสนาอื่ น ไม ใ ห เ ผยแผ ใ นประเทศไทย ทั้ ง ไม เ คยกี ด กั น คนไทยที่ นั บ ถื อ ศาสนาอื่ น ไม ใ ห
เจริญกาวหนาในสังคมไทย ดังที่เราไดเห็นศาสนิกชนแหงศาสนาอื่นสามารถดํารงตําแหนงสําคัญ
ในคณะรัฐบาล เปนประธานรัฐสภาและเปนผูบัญชาการเหลาทัพ เปนตน

เพื่อเปนหลักประกันวาจะไมมีการกีดกันหรือกดขี่ทางศาสนาเกิดขึ้นในสังคมไทย รัฐธรรมนูญฉบับ
ที่ผานมาและรางรัฐธรรมนูญฉบับลาสุดก็ไดบัญญัติเรื่องการคุมครองสิทธิ เสรีภาพและความเสมอ
ภาคในสังคมไทยไวดังตอไปนี้

“มาตรา 30 บุคคลยอมเสมอกันในกฎหมายและไดรับความคุมครองตามกฎหมายเทาเทียมกัน ชาย


และหญิงมีสิทธิเทาเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไมเปนธรรมตอบุคคลเพราะเหตุแหงความแตกตางในเรื่องถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ
ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความ
เชื่ อ ทางศาสนา การศึ ก ษาอบรมหรื อ ความคิ ด เห็ น ทางการเมื อ ง อั น ไม ขั ด ต อ บทบั ญ ญั ติ แ ห ง
รัฐธรรมนูญ จะกระทํามิได

มาตรา 37 บุคคลยอมมีเสรีภาพบริบูรณในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทาง


ศาสนา และยอมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตาม
ความเชื่อถือของตน เมื่อไมเปนปฏิปกษตอหนาที่ของพลเมืองและไมเปนการขัดตอความสงบ
เรียบรอยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ศาสนาประจําชาติไทย พระธรรมโกศาจารย (ประยูร ธมฺมยจิตฺโต) 5
เอกสารเชิงวิชาการ องคกรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอรแลนดเหนือ
ในการใชเสรีภาพดังกลาวตามวรรคหนึ่ง บุคคลยอมไดรับความคุมครองมิใหรัฐกระทําการใด ๆ อัน
เปนการรอนสิทธิหรือเสียประโยชนอันควรมีควรได เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธิ
นิยมในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ
แตกตางจากบุคคลอื่น"

ถาชาวพุทธตองการใหพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติแบบผูกขาด ชนิดไมมีคูแขงจริงๆก็คง
ตองเรียกรองใหตัดมาตรา 30 และมาตรา 37 ออกจากรางรัฐธรรมนูญอีกดวย แตในความเปนจริง
ชาวพุทธตองการใหคงมาตราทั้งสองไวในรางรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้เพราะพระพุทธศาสนาสอนใหคน
ไทยใจกวางและรักสันติ

เมื่อศาสนิกชนแหงศาสนาอื่นไดอานพบมาตราทั้งสองนี้แลวก็จะเกิดความอุนใจวาสิทธิ เสรีภาพ
และความเสมอภาคทางศาสนาของพวกเขาไมไดถูกริดรอนไปแตอยางใด และถาจะใหความอุนใจ
แก ศ าสนิ ก ชนของศาสนาอื่ น ก็ ค วรเพิ่ ม ข อ ความเกี่ ย วกั บ ศาสนาอื่ น ไว ใ นมาตราเดี ย วกั น ตาม
แบบอยางรัฐธรรมนูญของเดนมารกและมาเลเซียวา "พระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติของ
ประเทศไทย รัฐตองใหความอุปถัมภและคุมครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น"

เมื่อมี ก ารกลาวถึง พระพุ ท ธศาสนาและศาสนาอื่น ไวใ นรัฐธรรมนูญมาตราเดีย วกันอย างนี้ แม


รัฐธรรมนูญจะบัญญัติใหพระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติของประเทศไทยก็จะไมมีอะไรไป
รอนสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคทางศาสนาของศาสนิกชนในศาสนาอื่น

ถึงเวลาแลวหรือยังที่ประเทศไทยซึ่งมีพระพุทธศาสนาเปนรากฐานของวัฒนธรรมไทย มีสํานักงาน
ใหญขององคการพุทธศานิกสัมพันธแหงโลกตั้งอยูเปนการถาวร และมีพุทธมณฑลที่ชาวพุทธทั่ว
โลกยอมรั บ ว า เป น ศู น ย ก ลางพระพุ ท ธศาสนาของโลก จะได บั ญ ญั ติ ใ นรั ฐ ธรรมนู ญ ให
พระพุทธศาสนาเปนศาสนาประจําชาติ

ที่มา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2550

สามารถดาวโหลดไฟลนี้ไดที่
www.thaimonks.org.uk/dload/b_nation.pdf

ศาสนาประจําชาติไทย พระธรรมโกศาจารย (ประยูร ธมฺมยจิตฺโต) 6


เอกสารเชิงวิชาการ องคกรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอรแลนดเหนือ

You might also like