You are on page 1of 20

รายงาน

เรื่อง เทคนิคการควบคุมชัน้ เรียน

เสนอ

อาจารย์ นฤมล ปภัสรานนท์

จัดทำาโดย

นายภควัต โอวาท
รหัส 4741060017
โปรแกรมวิทยาศาสตร์ทั่วไป

รายงานนีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของวิชา การบริหารจัดการในห้องเรียน (Educ 105)


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
2

คำานำา

รายงาน การควบคุมชั้นเรียนฉบับนี้จัดทำาขึ้นจากการรวบข้อมูลกิจกรรมในการบริหารจัดการใน
ห้องเรียน ซึ่งมีเนื้อหาในการควบคุมชั้นเรียนเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบ
รืน่ เน้นการแก้ปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมของนักเรียนที่มีความประพฤติไม่พึงประสงค์ อันเป็นปัญหา
ในการปกครองชั้นเรียนของผู้สอนได้
ผูจ้ ัดทำาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาในรายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาและนำาไป
ปฏิบัติทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเด็ก เยาวชน ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ หากมีข้อความใดที่
ผิดพลาดบกพร่องในรายงานฉบับนี้ผู้จัดทำาต้องขออภัยมา ณ. ทีน่ ี้ด้วย

ภควัต โอวาท
มกราคม 2552
3

สารบัญ
คำานำา 2
เทคนิคการควบคุมชั้นเรียนของครู 4
กิจกรรมที่ใช้ควบคุมชั้นเรียน 6
ตอนที่ 1 วิธที ำาสัญญา 6
กิจกรรมที่ 1 การทำาสัญญากับเด็กก้าวร้าว 6
กิจกรรมที่ 2 การทำาสัญญากับเด็กที่ไม่ทำาการบ้าน 7
ตอนที่ 2 การลงโทษโดยไม่ใช้วาจา 8
กิจกรรมที่ 3 การใช้บัตรลงโทษ 8
กิจกรรมที่ 4 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำาพูด 9
กิจกรรมที่ 5 สัญญาณเตือนเด็กทั้งชั้นทีท่ ำาผิด 9
กิจกรรมที่ 6 การปรึกษาเป็นการส่วนตัว 10
กิจกรรมที่ 7 กบบนใบบัว 10
กิจกรรมที่ 8 เก็บหรือทำาลายสิ่งของที่นักเรียนนำามาเล่นในห้องเรียน 11
กิจกรรมที่ 9 การลงโทษทางกายสถานเบา 11
กิจกรรมที่ 10 การลงโทษทันทีทันควัน 12
ตอนที่ 3 การให้สินจ้างและรางวัล 12
กิจกรรมที่ 11 การแสดงละคร (Melodrama) 12
กิจกรรมที่ 12 เกมตกปลา 13
กิจกรรมที่ 13 รางวัลที่เป็นแรงจูงใจภายใน 13
กิจกรรมที่ 14 แรงเสริมทางสังคมกับรางวัลที่เป็นสิ่งของ 14
ตอนที่ 4 การใช้เทคนิคเวลานอก (Time – Out technique) 14
กิจกรรมที่ 15 การจัดสถานที่สำาหรับเวลานอก 14
กิจกรรมที่ 16 การทำาความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การใช้สถานที่สำาหรับเวลานอก 15
ตอนที่ 5 การจัดการกับสถานการณ์ที่ทำาให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว 15
กิจกรรมที่ 17 การแสดงบทบาทสมมติ 15
กิจกรรมที่ 18 การควบคุมความประพฤติของเด็กทั้งห้อง 15
กิจกรรมที่ 19 การขจัดปัญหาการโต้ตอบที่ไม่ดี 17
กิจกรรมที่ 20 ใช้อทิ ธิพลของเพื่อนร่วมชั้นเป็นแรงเสริม 17
กิจกรรมที่ 21 การทำาสัญญาในกลุ่มเล็กๆ 17
กิจกรรมที่ 22 วันหยุดงาน 18
ตอนที่ 6 กิจกรรมสำาหรับปัญหาที่แก้ไขยาก 19
กิจกรรมที่ 23 การแก้ไขเด็กเก็บตัว 19
บรรณานุกรม 20
4

เทคนิคการควบคุมชั้นเรียน

เทคนิคการควบคุมชั้นเรียนของครู
เทคนิคหรือวิธีการที่ครูใช้ควบคุมชั้นเรียนมีส่วนส่งเสริมในการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา
กล่าวคือ ถ้าครูปกครองชั้นเรียนด้วยความยุติธรรม ยึดหลักประชาธิปไตย ใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทุกคน
ยอมรับ ยินดีปฏิบัติ นักเรียนก็จะอยู่ในห้องเรียนอย่างมีความสุข เกิดความรู้สึกอบอุ่นพอใจและสบายใจ
ในทางตรงกันข้าม ถ้าครูโลเล ไม่ยุติธรรม เลือกที่รักมักที่ชัง ปกครองชั้นเรียนแบบเผด็จการ นักเรียนจะ
เกิดความรู้สึกไม่ศรัทธาครู ไม่เห็นคุณค่าของระเบียบกฎเกณฑ์ ส่งผลให้นักเรียนไม่สนใจเรียน ไม่อยาก
มาโรงเรียนในที่สุด ดังนั้นเทคนิควิธีการปกครองชั้นเรียนของครูจึงมีความสำาคัญต่อการสร้าง
บรรยากาศทางจิตวิทยาด้วย
ในการปกครองชั้นเรียน ครูควรยึดหลักต่อไปนี้
3.1 หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำาคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้อิสระ ให้
โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน
และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รูจ้ ักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่าง
ประชาธิปไตย
3.2 หลักความยุติธรรม ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง นักเรียน
จะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำาอบรมสั่งสอนของครู ตลอ
ดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3.3 หลักพรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำาให้นักเรียนมีความเคารพ
รักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียนด้วย
3.4 หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับนักเรียน เป็นวิธีการ
หนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำาได้หลายวิธี จิตรา วสุ
วานิช (2531 : 135) ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
1.ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคน เป็นต้นว่า งาน
อดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
5

2.ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมัน่ ถามความเป็นไปของพี่น้อง


ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหว
ของสิ่งเหล่านั้นด้วย
3.ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิกเรียน ช่วงพัก
ระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอคำาปรึกษา ต้องการขอคำา
แนะนำาในการหารายได้พิเศษ ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวลา
4.ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำาสั่งสอนและการกระทำาของครูจะต้องสอดคล้องกัน
เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน ก
ายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำาเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำาให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม
6

กิจกรรมที่ใช้ควบคุมชั้นเรียน
ตอนที่ 1 วิธีทำาสัญญา
การทำาตามสัญญาเพื่อเปลี่ยนความประพฤติ เป็นการสร้างวินัยในตนเองการทำาสัญญาเป็นสิ่งที่
ง่ายที่สุด หมายความว่าครูจะยอมรับและเห็นด้วยกับข้อตกลงที่ทำาไว้กับเด็ก แต่ละคนหรือทั้งชั้น
การทำาสัญญาเพื่อเปลี่ยนความประพฤติมักได้ผลดีสำาหรับเด็กวัยรุ่นหรือเด็กโต
การตกลงทำาสัญญาคือ “การทำาในสิ่งที่สัญญาว่าจะทำา” การทำาตามสัญญาต้องมีการวางแผนไว้
ก่อน คือ อาจจะให้เด็กนึกถึงนิสัยที่ไม่พึงปรารถนาบางอย่างที่ต้องการจะแก้ไข และในเวลาเดียวกันก็
ให้นึกถึงความเพลิดเพลินเล็กๆน้อย หรือสิ่งที่นักเรียนชอบทำาเพื่อความสนุกสนาน เช่น “การอ่าน
หนังสือการ์ตนู ” “การเล่นฟุตบอล” “การกินไอศกรีม” ฯลฯ จากนั้นก็ให้สัญญากับตนเองว่า “เมื่อใด
ก็ตามที่ตนไม่ควบคุมความประพฤติ ตนจะต้องไม่แสวงหาความเพลิดเพลินหรือความสนุกนั้นชั่วคราว
เช่น ต้องการแก้นิสัยขี้ลืม เด็กอาจจะให้สัญญากับตนเองว่า “ถ้าฉันลืมเขียนวันที่ในสมุดเลข ฉันจะไม่
กินไอศกรีม”

กิจกรรมที่ 1 การทำาสัญญากับเด็กก้าวร้าว
วัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้กระบวนการขั้นต้นในการนำาวิธีปรับพฤติกรรมมาใช้

คำาแนะนำา ขั้นที่ 1 ให้คำาอธิบาย ครูให้คำาอธิบายแก่เด็กทั้งชั้นว่าการทำา


สัญญาย่อมยืดหยุ่นได้ มิใช่การบังคับหรือเข้มงวดกวดขันจนเกิน
ไป
ขั้นที่ 2 เลือกรางวัล ครูและนักเรียนทั้งห้องตกลงกันเลือกรางวัล
ทีน่ ักเรียนพอใจ เช่น
1. การเป็นหัวหน้ากลุ่ม
2. การใช้เวลาพิเศษเข้าห้องสมุด
3. ดูภาพยนตร์
4. อ่านหนังสือการ์ตูน
ฯลฯ
ขั้นที่ 3 กำาหนดผลที่เกิดขึ้นให้แน่ชัด หมายถึงผลที่เกิดขึน้ จาก
พฤติกรรมที่ไม่ดี ถ้าเด็กประพฤติไม่ดีจะทำาอย่างไร ต้องให้เด็ก
ตัดสินใจเลือกระหว่างรางวัลกับผลที่ได้รับจากการประพฤติไม่ดี

วิธีการ เมื่อมีเด็กก้าวร้าว ชอบชกต่อย ตีกัน ครูก็ตกลงทำาสัญญากับเด็ก


ว่า ถ้าเด็กทำาเช่นนั้นเขาจะได้รับผลอย่างไร เช่น จะได้รับโทษ
7

แต่ถ้าเขาไม่ชกต่อยตีกันเขาจะได้อะไรบ้าง

สิ่งที่ควรระวัง 1. ครูมักไม่ให้แรงเสริมหรือรางวัลที่เด็กชอบ แต่จะให้รางวัลตาม


ความพอใจของครู
2. ครูไม่ได้ใช้อำานาจที่ตนมีอยู่เท่าที่ควร หมายความว่าเมื่อเด็กไม่
ทำาตามสัญญาก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 2 การทำาสัญญากับเด็กที่ไม่ทำาการบ้าน
วัตถุประสงค์ เพื่อแก้นิสัยไม่ชอบทำาการบ้าน

คำาแนะนำา 1. ครูให้คำาแนะนำาและชี้แจง ในการตกลงทำาสัญญาว่าถ้าเด็กไม่


ทำาการบ้าน แล้วจะได้รับผลอย่างไร ถ้าทำาการบ้านแล้วจะได้รับ
ผลอย่างไร
2. ครูและนักเรียนช่วยกันออกแบบ ใบสัญญา

วิธีการ ตกลงเป็นการส่วนตัวว่า การบ้านควรมีกี่ข้อ บ่อยครั้งแค่ไหน


เมื่อตกลงกันแล้ว ก็เขียนข้อสรุปของสัญญาตามแบบที่ตกลงกัน
ไว้ ทั้งครูและนักเรียนเซ็นชื่อลงในสัญญา ครูเป็นผู้เก็บสัญญา
ถ้าเด็กไม่ส่งการบ้านตามสัญญาก็ไม่มีการดุว่า แต่ครูจะส่งใบ
สัญญาให้ และให้เด็กรับผลที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้
แต่ถ้าเด็กส่งการบ้านตามสัญญา ครูก็จะให้รางวัลตามที่ตกลงกัน
ไว้เช่นกัน

ข้อควรจำา 1. ต้องไม่มีการดุว่าเมื่อเด็กทำาผิดสัญญา
2. ให้แรงเสริมบวกตามที่นักเรียนต้องการ บอกให้เด็กทราบว่าครู
รู้สึกชื่นชม บอกคะแนนหรือเกรดให้เด็กทราบทันที่ที่ครูตรวจ
เสร็จ
8

ตัวอย่างใบสัญญา
ใบสัญญา
ข้าพเจ้าชื่อ....................................................................ขอสัญญาว่าข้าพเจ้าจะส่งการบ้าน
วิชา....................................ภายในวันที่ ..............เดือน.......................พ.ศ. ........... ถ้าข้าพเจ้า
ส่งไม่ทันตามกำาหนดข้าพเจ้าจะ...................................................................เป็นการชดใช้

ลงชื่อ........................................................................(นักเรียน)
ลงชื่อ.................................................................................(ครู)

ตอนที่ 2 การลงโทษโดยไม่ใช้วาจา
การลงโทษโดยไม่ใช้วาจา คือ การไม่พูด แต่จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการ
ลงโทษ
ถ้าหากครูกำาลังสอนอยู่ แล้วมีเด็กคนหนึ่งขัดจังหวะโดยการทำาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เคาะโต๊ะ
แล้วครูหยุดอธิบายหันมาพูดกับตักเตือน เด็กคนนั้นจะได้รับความสนใจมากขึ้น เขาจะยิ่งทำาสิ่งไม่ดีมาก
ขึน้ เพราะเด็กคนดังกล่าวต้องการเรียกร้องความสนใจจากครู การพูดจึงไร้ประโยชน์

กิจกรรมที่ 3 การใช้บตั รลงโทษ


วัตถุประสงค์ เพื่อโต้ตอบโดยวิธีไม่ใช้คำาพูด สำาหรับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่ดี

คำาแนะนำา จัดหาบัตรชุดหนึ่งที่มีข้อความที่เป็นการลงโทษอยู่ในบัตรนั้น ถ้า


เป็นความผิดที่ร้ายแรงก็เพิ่มโทษเป็น 2 เท่า

วิธีการ เมื่อนักเรียนประพฤติไม่ดี ครูต้องไม่พูดกับนักเรียนคนดังกล่าว


แต่จะยื่นบัตรลงโทษที่เหมาะสมให้นักเรียน มีการอธิบายถึงวิธี
การลงโทษก่อนที่จะทำาโทษเพื่อให้นักเรียนเข้าใจ ถ้าเป็นเด็ก
อนุบาลหรือเด็กที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก บัตรลงโทษที่ใช้อาจเป็น
สีต่างๆ อธิบายให้เด็กทราบว่าสีใดแทนการลงโทษอย่างใด
ตัวอย่างบัตรลงโทษ

อยู่ในห้องเรียนเวลา ไม่มีสิทธิเข้า
หยุดพัก ห้องเรียน 15 นาที
ทำาความสะอาดห้องเรียน งดการด่ ืมนม
ตอนเลิกเรียน
9

กิจกรรมที่ 4 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนคำาพูด
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการโต้ตอบโดยไม่ใช้คำาพูดกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่ดี

คำาแนะนำา ครูต้องอธิบายให้เด็กรู้ร่วมกันว่า สัญลักษณ์มีความหมายอย่างใด


อย่างหนึ่ง

สัญลักษณ์ที่ใช้อาจเป็น 1. การชีน้ ิ้ว


2. การโบกมือ
3. การจ้องหน้า
4. การสั่นศีรษะ
ฯลฯ
สัญลักษณ์นี้มีความหมายว่า ครูไม่พอใจถ้าเด็กไม่สนใจการสอน
ของครู ครูอาจใช้วิธีการตบไหล่เบาๆ ก็ได้เช่นกัน

วิธีการ 1. วิธีการนี้มีประโยชน์เฉพาะการใช้ “เทคนิคการใช้เวลานอก”


เมื่อเด็กประพฤติไม่ดีก็ชี้ไปที่ตัวเด็ก แล้วชี้ไปที่สถานที่สำาหรับ
เวลานอก สัญญาณนี้จะบอกให้เด็กรูว้ ่าเด็กจะต้องไปสถานที่
สำาหรับเวลานอกทันที
2. ใช้เป็นการปรามให้เด็กรู้ว่า ครูไม่พอใจและไม่ให้เด็กทำาอย่าง
นัน้ เช่น การสั่นศีรษะ การจ้องหน้า การโบกมือ ฯลฯ

กิจกรรมที่ 5 สัญญาณเตือนเด็กทั้งชัน้ ที่ทำาผิด


วัตถุประสงค์ เพื่อโต้ตอบโดยไม่ใช้คำาพูด เมื่อเด็กทั้งชั้นทำาผิดไม่สนใจเรียน
หรือไม่อยากทำางาน

คำาแนะนำา มีนาฬิกาทรายบอกเวลา 1 นาทีวางอยู่บนโต๊ะครู แต่อาจใช้เป็น


นาฬิกาอื่นที่มีกริ่งบอกเวลาเมื่อหมดเวลา 1 นาที ก็ได้

วิธีการ เมื่อเด็กทำาผิดหรือไม่ทำางาน ครูก็กดสวิตซ์ให้ไฟแวบใน 1 นาที


ถ้าเด็กไม่ทำาผิดหรือลงมือทำางาน ครูก็สอนหรืออธิบายต่อ ถ้า
หากเด็กยังทำาผิดหรือไม่ทำางานครูก็ลงโทษทั้งชั้น แต่ถ้าเด็กทำาผิด
หรือไม่ทำางาน บางคนก็ใช้ “บัตรลงโทษ” แทน
10

กิจกรรมที่ 6 การปรึกษาเป็นการส่วนตัว
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการแก้ไขความประพฤติโดยการให้ความสนใจเป็นพิเศษ

คำาแนะนำา ครูพยายามหาเวลาอยู่ตามลำาพังกับเด็กที่มีกระทำาผิด อธิบายถึงกฏ


เกณฑ์ต่างๆ โดยการใช้เด็กออกไปเดินเล่นนอกห้องด้วยกัน ซึ่ง
เป็นการแสดงให้เห็นว่า ครูให้ความสนใจแก่เด็กมากกว่าปกติ
วิธีนี้ใช้กับเด็กที่ทำาผิดร้ายแรงและเป็นเด็กที่ขาดความรักความ
อบอุ่น และเรียกร้องความสนใจในทางผิดอยู่เสมอ

วิธีการ นำาเด็กเดินไปที่ที่เห็นว่าเด็กและครูอยู่ดว้ ยกันตามลำาพังเท่านั้น


ขณะที่เดินไปครูอาจจะโอบไหล่หรือแตะแขนเบาๆ พร้อมกับ
อธิบายให้เด็กรู้ว่า เขาเป็นเด็กที่น่ารักเพียงไรและบอกว่า ครูอยาก
ทำางานกับเขา แม้ว่าเด็กจะประพฤติไม่ดี

กิจกรรมที่ 7 กบบนใบบัว
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดของเด็กและเพื่อให้
เด็กรูว้ ่ามิใช่การลงโทษตามใจครู

คำาแนะนำา ครูปรึกษากับเด็กแต่ละคนถึงวิธีการลงโทษที่ดีที่สุดและกำาหนด
โทษสำาหรับความผิดแต่ละอย่าง ครูเขียนความผิดแต่ละอย่างลง
บนกระดานดำา แล้วให้เด็กกำาหนดว่าความผิดแต่ละอย่างควรใช้
การลงโทษสถานใด เช่น
การคุยเสียงดัง งดเข้าห้องสมุด
การลุกจากเก้าอี้ งดการเล่นฟุตบอล
เคี้ยวหมากฝรั่ง งดการดื่มนม
หยอกล้อกับเพื่อน ไปอยู่ที่สถานที่สำาหรับเวลานอก
ครูหรือนักเรียนเขียนความผิดแต่ละอย่างบนกระดาษแข็งที่วาด
เป็นรูปกบ เขียนการทำาโทษบนกระดานไฟฟ้าที่วาดเป็นรูปใบบัว

วิธีการ เมื่อเด็กทำาผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ให้หยิบกบที่เป็นตัวแทนความ


ผิดแตะบนใบบัว ถ้าตรงกับการลงโทษใดก็จะมีไฟแวบขึน้ มาเด็ก
ก็จะได้รับโทษเช่นนั้น
11

กิจกรรมที่ 8 เก็บหรือทำาลายสิ่งของที่นักเรียนนำามาเล่นในห้องเรียน
วัตถุประสงค์ เพื่อมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่แน่นอนต่อความประพฤติไม่ดีของเด็ก
แต่ละคน

คำาแนะนำา ความประพฤติไม่ดีบางอย่างแก้ไขได้ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น เดินไปมา


ที่โต๊ะเรียนของเด็ก แล้วหยิบสิ่งที่เด็กนำาขึ้นมาเล่นขณะที่ครูกำาลัง
สอนขว้างลงถังขยะ โดยไม่ใช้อารมณ์ (ทั้งนี้ครูต้องพิจารณาถึง
ฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กด้วย)

วิธีการ ถ้าปรากฏว่านักเรียนอ่านหนังสือการ์ตนู เล่นตุ๊กตาหรืออะไร


ก็ตามในขณะที่ครูกำาลังสอน ครูก็หยิบสิ่งนั้นทิ้งตะกร้าเสีย หรือ
อาจจะริบเอาไว้ก่อน ซึ่งเด็กอาจจะมาหยิบคืนได้ในเวลาต่อมา ถ้า
นักเรียนชอบเขียนอะไรที่ตรงกันข้ามกับที่ครูสอน ครูก็เดินไปที่
โต๊ะหยิบกระดาษที่เด็กเขียนขยำ้าทิ้งลงตะกร้า

กิจกรรมที่ 9 การลงโทษทางกายสถานเบา
วัตถุประสงค์ เพื่อหาวิธีการลงโทษที่มีประสิทธิภาพ

คำาแนะนำา ถ้าหากทางโรงเรียนอนุญาตให้มีการลงโทษ โดยการเฆี่ยนตีก็จะ


เป็นการลงโทษที่ได้ผลแต่มีอันตราย ทั้งนี้ขนึ้ อยู่กับการเลือก
และการตัดสินใจ ครูควรแน่ใจว่า “ความรักและการยอมรับที่ครู
มีต่อเด็ก ย่อมทำาให้การลงโทษง่ายกว่า” ถ้าหากครูไม่รักเด็ก และ
ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีความรู้สึกที่ไม่เป็นมิตรต่อกัน การลงโทษจะ
กลายเป็นอาวุธต่อเด็ก ในสถานการณ์เช่นนี้การลงโทษจะไม่ได้
ผล

วิธีการ ถ้าเด็กกระทำาผิด การตีฝา่ มือ ไหล่และตีกันด้วยไม้เรียวขณะที่


เด็กทำาผิดครูเดินไปตีขณะที่เด็กทำาผิดจะได้ผลกว่าการลงโทษเมื่อ
เด็กทำาผิดไปนานแล้ว
12

กิจกรรมที่ 10 การลงโทษทันทีทันควัน
วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันความสับสนในการลงโทษ

คำาแนะนำา โดยปกติ การลงโทษจะทำาให้เกิดผลข้างเคียงดังกล่าวแล้ว และสิ่ง


ที่สำาคัญที่ทำาให้เกิดผลข้างเคียง คือการลงโทษที่ไม่สัมพันธ์กับ
ความผิด ถ้าการลงโทษไม่ถูกต้องจะทำาให้เกิดผลเสียหายได้
แม้แต่กับผู้ลงโทษเอง

วิธีการ ถ้าเด็กทำาผิด อย่าคอยจนกระทั้งเด็กทำาผิด แล้วจึงมาลงโทษใน


คราวหลัง แต่ต้องลงโทษทันทีอย่ารอช้า เช่น เด็กชายภควัต
รังแกเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ ครูต้องตรงเข้าไปดึงเด็กชายภควัตมาตีมือ
หรือแขน เพื่อเด็กชายภควัตจะได้รู้ว่าการกระทำาของตนไม่ดี ควร
ได้รับการลงโทษ

ตอนที่ 3 การให้สินจ้างและรางวัล

กิจกรรมที่ 11 การแสดงละคร (Melodrama)


วัตถุประสงค์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสินจ้างและรางวัล

คำาแนะนำา ครูอธิบายให้นักเรียนทั้งชั้นทราบถึงความแตกต่างของสินจ้างและ
รางวัลว่า สินจ้าง หมายถึงสิ่งที่ให้แก่ความประพฤติไม่ดี โดย
หวังให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ รางวัลหมายถึงอะไรก็ได้ที่
เด็กต้องการเมื่อเขาได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางพึงประสงค์เขา
ก็จะได้รับสิ่งนั้น ครูยกตัวอย่างให้เห็นถึงความแตกต่างของสิน
จ้างและรางวัล ตัวอย่างการให้สินจ้าง เช่น การที่แม่พาเด็กหญิง
อุไรพรไปหาหมอ เมื่อแม่บอกอุไรพรว่าจะไปหาหมอ อุไรพร
ร้องให้ทุกครั้ง แม่จึงให้ไอศกรีมเพื่อให้อุไรพรหยุดร้องไห้ อุไร
พรก็หยุดร้อง ดังนัน้ ทุกครั้งที่ไปหาหมดอุไรพรก็ร้องให้เช่นนี้
ตลอดไป แม่ก็ให้สิ่งของต่างๆ เพื่อให้อุไรพรหยุดร้องไห้ นี้คือ
การให้สินจ้าง สำาหรับการให้รางวัลนั้น ถ้าอุไรพรร้องไห้เมื่อแม่
บอกว่าจะพาไปหาหมอ แม่ก็จะไม่สนใจการร้องไห้ จะไม่พูดคุย
ด้วย ถามไถ่ และไม่ยิ้มแย้มแจ่มใสด้วย แต่จะพาไปหาหมอทั้งๆ
13

ที่ร้องไห้ เมื่อใดบุตรีหยุดร้องไห้ แม่จึงให้รางวัล ถ้าร้องไห้อีกก็


จะไม่ให้ความสนใจจนกว่าจะหยุดร้องไห้ จึงให้รางวัลที่เป็น
ไอศกรีม ตุ๊กตา หรือสิ่งที่อุไรพรพอใจ

วิธีการ ให้เด็กเล็กๆ แสดงละครใน 2 ลักษณะ คือ การให้สินจ้างและการ


ให้รางวัล เพื่อให้เห็นความหมายที่แท้จริงของการให้สินจ้าง และ
การให้รางวัล

กิจกรรมที่ 12 เกมตกปลา
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้รางวัลแก่เด็กที่มีความประพฤติเหมาะสม
2. เพื่อให้เด็กที่ประพฤติดีได้เล่นเกม
3. เป็นการกระตุ้นให้เด็กทีมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มี
พฤติกรรมอันพึงประสงค์

คำาแนะนำา ครูอธิบายวิธีเล่นเกมให้เด็กทราบ โดยเขียนข้อความที่เป็นรางวัล


ไว้ที่ตัวปลาที่ทำาด้วยกระดาษ เมื่อเด็กมีพฤติกรรมดีก็ได้รับ
อนุญาตให้ตกปลา และได้รับรางวัลตามที่ระบุไว้บนตัวปลา ครู
ต้องจำาไว้ว่า เด็กต้องการแก้ไขความประพฤติของตนเองและ
ต้องการสนุกสนานด้วย

วิธีการ ให้เด็กที่มีความประพฤติดี เลือกรางวัลโดยการเล่นเกมตกปลา


เมื่อได้ปลาก็ได้รับรางวัลตามที่บอกไว้บนตัวปลา

หมายเหตุ วิธีทำาตัวปลา วาดรูปลา ด้านหลังเขียนข้อความเป็นรางวัล แล้ว


ใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บเอาไว้ สำาหรับคันเบ็ดทำาด้วยไม้ไผ่ผูก
เชือกตัวเบ็ดทำาด้วยแม่เหล็ก

กิจกรรมที่ 13 รางวัลที่เป็นแรงจูงใจภายใน
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการฝึกให้นักเรียนควบคุมตัวเอง

คำาแนะนำา ครูจะบอกเด็กก่อนว่า ความประพฤติเช่นไรจะได้รับรางวัลอะไร


เช่น สมชายทำาสัญญาว่า ถ้าเขาทำางานโดยไม่แสดงอาการก้าวร้าว
14

จนถึงเวลา 9.30 น. เขาจะได้รับการลงเวลาให้ว่า “มาเรียน” ใน


บัญชีเรียกชื่อ

วิธีการ ถ้าสมชายประพฤติตัวไม่เหมาะสมตามที่สัญญาเอาไว้ ก็จะได้รับ


การลงโทษสถานเบา โดยครูพูดกับเด็กคนอื่นด้วยนำ้าเสียงที่ทำาให้
สมชายเกิดความรู้สึกไม่สบายใจว่า “ขัตติยะเธออยากให้ครูลง
เวลาเรียนว่า เธอมาใช่ไหม?” แต่ถ้าสมชายประพฤติตัวดีคือ
สามารถควบคุมตัวเองได้ตามเวลาที่กำาหนดก็จะได้รับการลงเวลา
ว่า “มาเรียน” เป็นรางวัล

กิจกรรมที่ 14 แรงเสริมทางสังคมกับรางวัลที่เป็นสิ่งของ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้แรงเสริมทางสังคม (คำาชมเชย การยอมรับและการให้
ความสนใจ)

คำาแนะนำา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กทั้งชั้นได้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อแรง
เสริมทางสังคม ครูต้องจับคู่แรงเสริมทางสังคมกับรางวัลที่เป็น
สิ่งของ

วิธีการ ให้รางวัลที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ คือ ในขณะที่ครูให้รางวัลแก่เด็ก


ครูก็ควรแตะไหล่เด็กอย่างอ่อนโยนพร้อมกับกล่าวคำายกย่อง
ชมเชย

ตอนที่ 4 การใช้เทคนิกเวลานอก (Time – Out technique)

กิจกรรมที่ 15 การจัดสถานที่สำาหรับเวลานอก
วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการให้ความหมายและตั้งจุดประสงค์ของการจัดสถานที่
สำาหรับเวลานอก

คำาแนะนำา สถานที่สำาหรับเวลานอก หมายถึงสถานที่ที่มีเด็กอยู่ตามลำาพัง


โดยไม่ได้รับความสนใจหรือแรงเสริมจากใครๆ ดังนั้น สถานที่ดี
ที่สุด คือ มุมหลังห้องเรียน
15

วิธีการ ครูและเด็กร่วมกันอธิปลายและออกความเห็นว่าควรจะใช้ที่ใด
เป็นสถานที่สำาหรับเวลานอก และควรจะใช้อะไรกันไว้ เพื่อมิให้
ครูหรือเพื่อนๆ มองเห็นเด็กที่ถูกแยกตัว ครูจะใช้วัสดุต่างๆ ตาม
คำาแนะนำาของเด็ก เช่น อาจจะใช้ชั้นหนังสือหรือกระดานป้ายา
แล้วก็ช่วยกันจัดสถานที่ดังกล่าว และให้เด็กลองนั่งสาธิตให้
เพื่อนๆ ดูเสียก่อนว่า เป็นที่แยกตัวเด็กให้พ้นหูพ้นตาครูจริงๆ
สถานที่สำาหรับเวลานอกที่ครูและเด็กช่วยกันจัดจะได้มีประสิทธิ
ถาพ

กิจกรรมที่ 16 การทำาความเข้าใจเกี่ยวกับกฏเกณฑ์การใช้สถานที่สำาหรับเวลานอก
วัตถุประสงค์ เพื่อเน้นความเข้าใจ และการใช้สถานที่สำาหรับเวลานอกที่มี
ประสิทธิภาพ

คำาแนะนำา ครูควรอธิบายให้เด็กทั้งชั้นฟังอย่างระเอียด ถึงวิธีใช้สถานที่


สำาหรับเวลานอก เช่น นักเรียนและครูตกลงกันว่า ถ้าใครไม่
สนใจเรียน บ่นเรื่องการบ้าน พูดมาก จะต้องไปอยู่ที่สถานที่
สำาหรับเวลานอก ดังนั้น ถ้าใครมีพฤติกรรมเช่นนี้จะต้องไปที่
สถานที่ดังกล่าว โดยปราศจากการโต้แย้งใดๆ ครูควรให้
สัญญาณ(ดังเช่นกิจกรรมที่ 4) เพื่อให้เด็กรู้ว่าเขาต้องไปยังสถานที่
สำาหรับเวลานอก สัญญาณที่ว่าอาจเป็นการชี้ แตะไหล่ มองตา
หรือสัญญาณอย่างอื่นที่มิใช่คำาพูด เพราะการใช้คำาพูดเป็นการลด
ประสิทธิภาพของการใช้สถานที่เวลานอก ควรให้เด็กอยู่ในสถาน
ที่สำาหรับเวลานอกประมาณ 2-3 นาที ไม่ควรให้อยู่นานเกินไป
เพราะการอยู่นานเกินไป จะไม่มีผลในการแก้ไขความพฤติกรรม
ใช้นาฬิกาที่วางอยู่ที่นั้นบอกเวลา

วิธีการ อธิบายให้เด็กในชั้นฟังว่า จะไม่มีการอธิบายหรือพูดอะไรกับเด็ก


แต่จะใช้สัญญาณแทน ถ้าใครไปซำ้าจะได้รับการลงโทษตาม
กิจกรรมที่ 2 หรือการใช้บัตรลงโทษ เมื่อเด็กที่ทำาผิดไปที่สถานที่
สำาหรับเวลานอก ก็ให้กลับนาฬิกาเพื่อตั้งเวลาใหม่ เมื่อหมดเวลา
ให้กลับไปนั่งที่โต๊ะได้ (ถ้าไม่มนี าฬิกาทรายก็ใช้นาฬิกาที่มีกริ่ง
บอกเวลาด้วย)
16

ตอนที่ 5 การจัดการกับสถานการณ์ที่ทำาให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว
พฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้บางอย่างจะเกิดขึน้ ในบางสถานการณ์ ซึง่ ถือว่าสถานการณ์เป็นสิ่งเร้า
ให้เกิดพฤติกรรมเช่นนั้น ครูต้องหาทางแก้ไขโดยเปลี่ยนสถานการณ์นั้นก่อน เช่น ตอนกระดิ่งสั่นเข้า
เรียน เด็กบางคนจะมีปฏิกิริยาต่อต้านการประกาศทางห้องโสต ฯ ของครู ทำาให้เด็กมีพฤติกรรมที่
ควบคุมไม่ได้ เช่น การหยอกล้อกันในแถวหน้าห้องเรียน สถานการณ์เช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ในห้องเรียน
ครูจึงต้องหาทางเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นั้น

กิจกรรมที่ 17 การแสดงบทบาทสมมติ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนได้เห็นพฤติกรรมที่ไม่ดี และพฤติกรรมโต้ตอบ

คำาแนะนำา ครูบอกให้นักเรียนสังเกตพฤติกรรมที่เกิดก่อนและเกิดทีหลัง
และช่วยตัดสินใจว่าพฤติกรรมใดไม่ดี เช่น เด็กผูช้ ายที่นั่งข้าง
หลังเด็กผู้หญิง แอบเอามือไปแตะเบาๆ ที่คอเด็กผู้หญิง (
พฤติกรรมแรก) เด็กผู้หญิงหันมาตวาดเสียงดังลั่นว่า “หยุดน่ะ” (
พฤติกรรมที่ 2) เด็กผู้หญิงคนหนึ่งแอบหยิบของจากเด็กผูห้ ญิงอีก
คนหนึ่ง เด็กผู้หญิงคนที่สองร้องไห้เสียงดังจนเป็นที่รบกวน ฯลฯ

วิธีการ ให้เด็กแสดงพฤติกรรมดังกล่าวให้เพื่อนๆ ดู การแสดงที่ขบขัน


เช่นนี้จะทำาให้เด็กประเมินได้ว่าพฤติกรรมใดก้าวร้าว ทั้งหมดจะ
ลงความเห็นว่า การโต้ตอบเป็นพฤติกรรมทีร่ ุนแรงกว่าพฤติกรรม
แรก

กิจกรรมที่ 18 การควบคุมความประพฤติของเด็กทั้งห้อง
วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการโต้ตอบที่ไม่ดีจากเด็กส่วนใหญ่

คำาแนะนำา การโต้ตอบต่อเด็กที่ประพฤติไม่ดี บางทีเกิดจากเด็กทั้งสอง จึง


ยากแก่การที่จะให้แรงเสริม แต่ควรจะใช้การลงโทษแก่เด็ก
ทั้งหมด

วิธีการ ครูและนักเรียน อภิปรายกันถึงการลงโทษที่เหมาะสมสำาหรับการ


โต้ตอบที่ก้าวร้าวการลงโทษต้องไม่รุนแรงแต่ควรใช้การลงโทษ
ทั้งหมด เช่น เด็กคนหนึ่งเป็นคนที่เพื่อนไม่ชอบ ถ้าเด็กคนนั้น
17

ตอบผิดก็จะโดนโห่ฮา เสียงดังจนเป็นที่รวบกวนแก่ห้องอื่น ครู


อาจใช้การลงโทษสถานเบาแก่เด็กทั้งห้อง แต่ต้องเป็นที่ยอมรับ
ของเด็กว่า ควรจะลงโทษ เช่น ตีฝ่ามือหรือให้เขกโต๊ะคนละ 3 ที

กิจกรรมที่ 19 การขจัดปัญหาการโต้ตอบที่ไม่ดี
วัตถุประสงค์ เพื่อการแก้ไขตอบที่ก้าวร้าวจากเด็กคนหนึ่งหรือสองคน

วิธีการ การโต้ตอบที่ก้าวร้าวต่อเด็กที่ประพฤติไม่ดี มักเกิดจากเด็กคน


หนึ่งหรือสองคน วิธีการที่ได้ผล คือ วิธีการแยกตัวเด็กไว้ที่
สถานที่สำาหรับเวลานอก สำาหรับเด็กที่เป็นต้นเหตุ และอธิบาย
แก่เด็กที่โต้ตอบว่า ควรเฉยเอาไว้ดีกว่าจะตะโกนโต้ตอบออกมา
ให้เป็นที่รบกวน

กิจกรรมที่ 20 ใช้อิทธิพลของเพื่อนร่วมชัน้ เป็นแรงเสริม


วัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กขยันเรียนขึ้น เพราะอิทธิพลของเพื่อนร่วมชั้น

คำาแนะนำา ครูทำาสัญญากับเด็กทั้งชั้นเรียน เพื่อให้รางวัลตามที่ต้องการโดย


ให้เพื่อนร่วมชั้นเป็นผู้กำาหนด และเป็นผู้ให้รางวัลเอง (เช่น ได้
รับการปรบมือจากเพื่อนร่วมชั้น) เพราะเพื่อนร่วมชั้นมีอิทธิพลใน
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กมาก

อภิปราย มักมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเสมอ คือ ครูใหญ่ในโรงเรียนต่างๆ มักให้


รางวัลมีค่าแก่เด็กในตอนสิ้นปีการศึกษาซึ่งไร้ประโยชน์ในการที่
จะแก้ไขความขี้เกียจของนักเรียนรางวัลที่ให้ควรให้ตอนสิ้นสุด
สัปดาห์ที่ 2 ที่เด็กขยัน เพราะจุดประสงค์ต้องการให้เด็กขยันเรียน
มากขึน้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้น แล้วก็ให้แรงเสริมแก่เด็กจะทำาให้
เด็กขยันเรียนในเวลาที่ยาวนานขึ้น เช่น พาไปทัศนศึกษาเมื่อสิ้น
สุดสัปดาห์ที่2
18

กิจกรรมที่ 21 การทำาสัญญาในกลุ่มเล็กๆ
วัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาวิธีแก้ไขความขี้เกียจของเด็กกลุ่มเล็กๆ อย่างมี
ประสิทธิภาพ

คำาแนะนำา ถ้าห้องเรียนใหญ่ และมีเด็กเป็นปัญหาเรื้อรัง ก็ควรแบบเด็กออก


เป็น 3 กลุ่ม

วิธีการ ทำาสัญญาในแต่ละกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มจะมีเด็กขี้เกียจ 1 คน ต่อ


เด็กขยัน 2 คน แล้วให้เด็กขี้เกียจทำาตามเด็กขยันในช่วงระยะเวลา
หนึ่ง ครูสังเกตพฤติกรรมถ้าเห็นว่าเด็กคนนั้นขยันขึ้นก็จะได้รับ
รางวัล ถ้ายังขี้เกียจเหมือนเดิมก็จะไม่ได้รับอะไรเลย

อภิปราย กลุ่มเพื่อนจะมีอิทธิพลต่อเด็กมาก เด็กอาจจะขยันตามกลุ่มเพื่อน


แต่อาจจะไม่ได้ผลสำาหรับเด็กบางคน ถ้าเป็นเช่นนั้นให้เพิ่มคนใน
กลุ่มให้มากขึน้ เช่น เด็กขี้เกียจ 1 คน ต่อเด็กขยัน 4-5 คน

กิจกรรมที่ 22 วันหยุดงาน
วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขความขี้เกียจ และแก้ไขทัศนคติไม่ดีต่อการเรียน

คำาแนะนำา ครูไม่ควรโกธรหรือขุ่นเคืองเด็ก แต่ควรให้การยอมรับอย่าง


อบอุ่น และไม่มีประโยชน์ถ้าใช้อารมณ์

วิธีการ อธิบายให้เด็กทราบว่าความขี้เกียจยากที่จะแก้ไข ดังนั้น ครูจะให้


อิสระแก่เด็กในเวลา 1 สัปดาห์ เด็กคนใดไม่ทำางานก็จะไม่ดุไม่ว่า
ไม่ทำาโทษ และไม่สูญเสียรางวัลที่เคยได้อยู่ เพราะวันนั้นเป็นวัน
ของเขาและเด็กก็ไม่ควรปฏิเสธที่จะไม่อยู่ในวันนั้นด้วย

อภิปราย เด็กบางคนอาจจะยอมรับวันนั้น แต่เด็กหลายคนจะไม่ชอบวัน


นัน้ เพราะครูไม่เข้มงวด แต่จะปล่อยตามสบาย คนที่ขี้ก็จะขี้
เกียจต่อไป
19

ตอนที่ 6 กิจกรรมสำาหรับปัญหาที่แก้ไขยาก
ปัญหาบางอย่างเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก จะต้องใช้เวลานาน ส่วนมากมักจะเป็นปัญหาที่ครูมอง
ข้ามไป เช่น เด็กเงียบขรึมผิดปกติ เด็กแยกตัว เด็กหนีสังคม ฯลฯ วิธีการที่มีประสิทธิภาพมาก คือ
การใช้แรงเสริมทางสังคมรวมกับกิจกรรมที่เด็กชอบ วิธีการแก้ไขเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้มาจากการวิจัยที่
ได้ผมแล้ว

กิจกรรมที่ 23 การแก้ไขเด็กเก็บตัว
วัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขเด็กเก็บตัวที่มีพฤติกรรมทางสังคมที่ไม่เหมาะสม

คำาแนะนำา กิจกรรมนี้ เป็นการเล่นเกมกับแท่งไม้รูปทรงเรขาคณิต เช่น


สามเหลี่ยม สีเหลี่ยม ทรงกลม ฯลฯ ที่มีขนาดต่างกัน และมีสี
ต่างๆ กันเป็นการเล่นเกมจากง่ายไปหายากและซับซ้อนยิ่งขึน้

วิธีการ ตอนที่ 1
ให้เด็กทำาตามในลักษณะเดียวกัน เช่น ครูหยิบแท่งไม้ทางขวามือ
ให้เด็กหยิบแท่งไม้ทางซ้ายมือ ถ้าเด็กทำาได้ก็จะได้รับรางวัล
ตอนที่ 2
ให้เด็กเลือกหยิบสิ่งของ 2 ลักษณะในสิ่งเดียวกัน คือ สีและ
ขนาด เช่น ให้เด็กหยิบแท่งไม้สีแดงอันใหญ่
ตอนที่ 3
ให้เด็กเลือกหยิบสิ่งของ 3 ลักษณะในสิ่งเดียวกัน เช่น ขนาด สี
และรูปร่าง ทุกครั้งที่เด็กทำาได้ก็จะได้รับรางวัล วิธีการเล่นเช่นนี้
จะทำาให้เด็กแสดงพฤติกรรมมากขึ้น และทำาให้เด็กอยาก
แสดงออกโดยไม่เก็บตัวอีกต่อไป
20

บรรณานุกรรม
เบญจกุล จีนาพันธ์. การปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน การศึกษาเฉพาะกรณีพฤติกรรมซนอยู่ไม่สุขเกิน
ปกติ. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
สมพร สุทัศนีย์. จิตวิทยาการปกครองชัน้ เรียน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
เอซ เดนิช. หลักการพื้นฐานสอนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ, 2545
http://socialscience.igetweb.com [เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2552]

You might also like